ไมโครไพล์ หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ คืออะไร? เลือกใช้ในงานสร้างใหม่ ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง ได้หรือไม่??

ไมโครไพล์ หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ คืออะไร? เลือกใช้ในงานสร้างใหม่ ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง ได้หรือไม่?? ไมโครไพล์ หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่ใช้นวัตกรรมแบบใหม่ในการผลิต โดยใช้แรงเหวี่ยง (สปัน=กรอ,หมุน,ปั่น,เหวี่ยง) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อคอนกรีต ด้วยเทคโนโลยีการหมุนด้วยความเร็วสูงขณะหล่อเสาเข็ม ด้วยเทคโนโลยีการหมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลางขึ้นในเนื้อคอนกรีต ทำให้เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง และเนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูง ทำให้เสาเข็มประเภทนี้สามารถรับน้ำหนักได้มาก และมีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ มักใช้ในงานต่อเติมหรือเสริมฐานราก ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงในการรับน้ำหนักสูง เนื่องจากเสาเข็มมีความสามารถในการรับน้ำหนักมากกว่าเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงทั่วไป อีกทั้งยังมีการทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test เพื่อให้มั่นใจว่า เสาเข็มจะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ต้องการเสาเข็ม ปรึกษาภูมิสยาม ผู้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และเสาเข็มไอไมโครไพล์ เรายินดีให้คำปรึกษา และพร้อมบริการทั่วประเทศ  Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท … Read More

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING)

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING) แรงดันดินหรือแรงดันแบกทาน (BEARING PRESSURE) ภายใต้ฐานรากนั้นหาได้โดยการตั้งสมมุติฐานให้ตัวฐานรากนั้นเป็นองค์อาคารที่มีความแข็ง (RIGID) และดินใต้ฐานรากนั้นมีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัว (HOMOGENEOUS ELASTIC MATERIAL) ซึ่งเราจะถือว่าดินในบริเวณนี้นั้นถูกตัดขาดออกจากดินโดยรอบฐานรากเนื่องจากแรงดันในดินนี้จะถูกสมมุติให้มีค่าแปรผันโดยตรง กับค่าการเสียรูปทรงของดินแรงดันใต้ฐานราก เนื่องจากน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกนใต้ฐานรากนี้จึงถูกสมมุติให้มีลักษณะเป็นแบบแผ่สม่ำเสมอ เพราะดินบริเวณนี้จะถูกอัดอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ในสภาพความเป็นจริงแล้วค่าของการกระจายตัวของแรงดันดินใต้ฐานรากนั้นไม่ได้สม่ำเสมอเสียทีเดียว ทั้งนี้จะขึ้นกับ (1) ความสามารถในการให้ตัวได้ของดิน (FLEXIBILITY) (2) ความลึกของฐานรากจากผิวดิน (DEPTH) (3) ชนิดของดิน (SOIL TYPE) ถึงแม้ว่าแรงดันของดินที่แท้จริงใต้ฐานรากจะไม่ได้มีลักษณะที่มีความสม่ำเสมอตามที่ใช้ในสมมติฐานของก็ตาม แต่สาเหตุที่ในการออกแบบฐานรากรับแรงดันดินที่ต้องรับน้ำหนักตามแนวแกน ทำการสมมุติให้แรงดันดินนี้มีค่าการกระจายตัวที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดินชนิดใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ … Read More

ปรับปรุงโครงสร้าง และเสริมฐานรากภายในอาคาร ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile เสาเข็มมาตรฐาน มอก.

ปรับปรุงโครงสร้าง และเสริมฐานรากภายในอาคาร ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile เสาเข็มมาตรฐาน มอก. โครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ จะต้องมีฐานรากที่แข็งแรงทนทานสูง เพื่อความมั่นคง และการรับน้ำหนักปลอดภัย ทั้งนี้การดำเนินการตอกเสาเข็มจะต้องมีช่างตอกที่ชำนาญงาน และวิศวกรที่มีประสบการณ์ในการออกแบบฐานราก เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ความละเอียดรอบครอบ และถูกต้องตามหลักวิศวกรรม การเลือกตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ นอกจากฐานรากที่มั่นคงแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงให้กับโครงสร้างเดิมอีกด้วย และที่สำคัญคือขณะติดตั้งแรงสั่นสะเทือนน้อย ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับการตอกเสาเข็มเพื่อปรับปรุงโครสร้างของอาคาร เนื่องจากอาคารส่วนใหญ่ที่ต้องเสริมความแข็งแรงให้กับฐานรากนั้น อาจจะมีปัญหาความบกพร่องของฐานราก จึงไม่ควรให้มีแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรง อันเป็นผลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานราก หรือโครงสร้างอาคารมากขึ้น เสาเข็มของภูมิสยามได้รับ มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 เสริมฐานราก เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เลือกใช้ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เรายินดีให้คำปรึกษา และพร้อมบริการทั่วประเทศ … Read More

ชนิดของเสาเข็ม

ชนิดของเสาเข็ม ถ้าจำแนกเสาเข็มตามวัสดุที่ใช้ทํา และการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น -เสาเข็มไม้ เสาเข็มไม้ตามปกติเป็นไม้เบญจพรรณ ตัดกิ่งและทุบเปลือกออก ตอนตอกเจาะด้าน-ปลายลง ต้องมีลําต้นตรงไม่ผุหรือมีราขึ้น เสาเข็มไม้จะต้องทุบเปลือกหรือถากเปลือกออกทั้งหมด ตาไม้ต่างๆจะต้องตัดให้เรียบเสมอ ฝั่งของต้นเสาเข็มปลายและหัวเสาเข็มจะต้องเลื่อยตัดเรียบได้ฉากกับลําต้น -เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ ตามปกติเรามักจะหล่อเสาเข็มในโรงงานก่อน เมื่อคอนกรีตได้อายุแล้ว ค่อยขนย้าย จากโรงงาน ไปยังสถานที่ก่อสร้าง หรือในบางครั้ง เราอาจหล่อเสาเข็มในบริเวณที่ก่อสร้างเลยก็ได้ -เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforcement Precast Concrete piles) เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กรูปร่างจะเป็นแบบใดก็ได้แล้วแต่จะออกแบบ แต่ส่วนใหญ่ควรให้จุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดทับจุดศูนย์กลางของเสาเข็ม เหล็กเสริมตามยาวต้องมีพอเพียงที่จะรับโมเมนตดัด เนื่องจากการขนส่งและยกตอก ต้องมีอย่างน้อย 4 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเล็กกว่า 9 มิลลิเมตร สําหรับเหล็กปลอกอาจเป็นปลอกแบบพัน หรือ แบบปลอกเดี่ยวก็ได้ ต้องเสริมบริเวณปลายและโคนเสาให้มาก เพราะทั้งที่โคนและที่ปลายเสาเข็ม … Read More

เสาเข็ม มีความสำคัญกับการสร้างใหม่อย่างไร?? และควรเลือกใช้เสาเข็มแบบไหน??

เสาเข็ม มีความสำคัญกับการสร้างใหม่อย่างไร?? และควรเลือกใช้เสาเข็มแบบไหน?? ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างทุกชนิด สิ่งแรกที่จะต้องเริ่มทำคือ การตอกเสาเข็ม เพราะเสาเข็มเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมด ถ่ายเทลงสู่พื้นดิน โดยในการตอกเสาเข็มจะต้องตอกให้ถึงชั้นดินทรายแข็ง เพราะเป็นชั้นที่สามารถรับน้ำหนักได้ดีที่สุด หากตอกลงไปไม่ถึงชั้นดินทรายนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวได้ในอนาคต และในทุกการตอกเสาเข็มจะต้องมีการออกแบบและคำนวณความปลอดภัยของเสาเข็มโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ และเสาเข็มนั้นมีมากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือรูปแบบของการก่อสร้าง ภูมิสยาม เราขอแนะนำ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มที่เป็นได้มากกว่าการต่อเติม เพราะเป็นเสาเข็มที่มีความหนาแน่นสูง และมีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ โดยเสาเข็มของภูมิสยามทุกต้น ผ่านการทดสอบในระบบ Dynamic Load Test เพื่อมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัย จึงเป็นที่นิยมมากในการก่อสร้าง ตอบโจทย์ทั้งการก่อสร้างใหม่และงานต่อเติม เรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และการรับน้ำหนัก ต้องยกให้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เราพร้อมบริการทั่วประเทศ Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุด และรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ 1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท 2.แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลายเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกัน Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 … Read More

ต่อเติมบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มแบบไหน บ้านถึงจะไม่ทรุด??

ต่อเติมบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มแบบไหน บ้านถึงจะไม่ทรุด?? เสาเข็มมีหลายประเภทตามการใช้งาน ในการต่อเติมบ้าน ควรเลือกใช้เสาเข็มที่เหมาะสมกับหน้างาน ที่สามารถเข้าตอกได้อย่างสะดวก และไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ข้างเคียง เราขอแนะนำ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มเพื่อการต่อเติมและป้องกันการทรุดตัวของส่วนต่อเติมได้อย่างตรงจุด ตอบโจทย์การต่อเติมบ้านในเรื่องของการเข้าตอกในพื้นที่แคบหรือจำกัดได้อย่างสะดวก อีกทั้งขณะตอกแรงสั่นสะเทือนน้อย ไม่ส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ประหยัดเวลาในการติดตั้ง เรื่องสะอาด สะดวก และรวดเร็ว ต้องยกให้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เสาเข็มมาตรฐาน มอก. และเป็นที่นิยมในการต่อเติม ต่อเติมบ้านแบบไม่ทรุด ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มเพื่อการต่อเติม มีปัญหาเรื่องบ้านปรึกษาภูมิสยาม เราพร้อมบริการทั่วประเทศ เสาเข็มของภูมิสยามได้รับ มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม … Read More

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST ซึ่งการทดสอบหาค่าขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธี PARALLEL SEISMIC TEST นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการที่เราจะต้องมีข้อมูลหรือหากไม่มีข้อมูลใดๆเลย ต้องทำการคาดเดาก่อนว่าเสาเข็มต้นที่เราต้องการจะทำการทดสอบนั้นจะมีความลึกประมาณเท่าใด หลังจากนั้นก็ให้ทำการสร้างหลุมเจาะขึ้นมาโดยให้อยู่ภายในรัศมีไม่เกินประมาณ 1500 มม. จากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทำการทดสอบ ต่อมาเราจะอาศัยการส่งถ่ายสัญญาณในลักษณะคลื่นลงไป ซึ่งเราจะค่อยๆ ทำการส่งผ่านให้คลื่นดังกล่าวนั้นเดินทางลงไปในโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มโดยที่เรามักจะใช้อุปกรณ์จำพวกค้อนกระแทกให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกแรงกระแทกเพื่อที่จะได้ส่งสัญญาณคลื่นนี้ลงไป (โดยที่มีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งว่า ด้านบนของโครงสร้างฐานรากหรือโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันกับโครงสร้างเสาเข็ม) เพื่อให้คลื่นดังกล่าวนั้นสามารถที่จะเดินทางลงไปได้โดยที่มีความต่อเนื่องตลอดเส้นทาง โดยคลื่นก็จะเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางไปยังตัวรับสัญญาณ หรือ HYDROPHONE ซึ่งได้ถูกหย่อนลงไปภายในท่อหลุมเจาะใกล้ๆ กันกับโครงสร้างเสาเข็มที่ถูกเติมน้ำเอาไว้ ที่ระดับของปลายท่อ หากจะอธิบายให้เข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้นก็คือการนำเอาหลักการสร้างคลื่นสะท้อนผ่านโครงสร้างเสาเข็มเพื่อตรวจดูค่าการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบคลื่นสะท้อนกลับที่ปรากฏ และเมื่อสิ้นสุดระยะของโครงสร้างเสาเข็มรูปแบบของคลื่นก็จะมีการเปลี่ยนไป ทำให้ในที่สุดเราก็จะสามารถประเมินหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มออกมาได้นะครับ Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ คืออะไร? เลือกใช้ในงานสร้างใหม่ได้หรือไม่??

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ คืออะไร? เลือกใช้ในงานสร้างใหม่ได้หรือไม่?? เสาเข็มสปันไมโครไพล์ คือเสาเข็มขนาดเล็ก ที่ผลิตโดยใช้แรงเหวี่ยง (สปัน=กรอ,หมุน,ปั่น,เหวี่ยง) เพื่อความหนาแน่น แข็งแรง ทนทานของเนื้อคอนกรีต โดยเสาเข็มมีโครงสร้างเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ถูกออกแบบมาเพื่อการรับน้ำหนัก เมื่อใช้ตอกในงานสร้างใหม่ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักโครงสร้างได้ดี และเพื่อให้มั่นใจว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ทางภูมิสยาม มีการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) และมีการนับ (Blow Count) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการประเมิน การรับน้ำหนักของเสาเข็ม เพื่อดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ เสาเข็มของภูมิสยามได้รับ มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 สร้างใหม่ เพื่อฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง รับน้ำหนักปลอดภัย เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เราพร้อมบริการทั่วประเทศ Miss Spunpile  Bhumisiam … Read More

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น 1. สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว 2. ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ 3. ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม 4. เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย อุปกรณ์วัดสัญญาณ จะวัดสัญญาณและแสดงผลในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแรงเทียบกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา โดยอุปกรณ์หลักจะประกอบไปด้วยหัววัดสัญญาณ 2 แบบ ได้แก่ 1. เซนเซอร์ความเครียด (Strain Transducer) 2. เซนเซอร์ความเร็ว (Accelerometer) การทดสอบการรับน้ําหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) 1. … Read More

เสาเข็มไอไมโครไพล์ I-Micropile ภูมิสยาม ปรับปรุงฐานรากให้กับพื้นถนน 

เสาเข็มไอไมโครไพล์ I-Micropile ภูมิสยาม ปรับปรุงฐานรากให้กับพื้นถนน  เสาเข็มไอไมโครไพล์ เสาเข็มรูปตัวไอ เป็นเสาเข็มเพื่อการก่อสร้างและต่อเติม เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัว และเหมาะสำหรับใช้เป็นฐานราก ตลอดจนงานปรับปรุงโครงสร้างหรือฐานรากที่ต้องการเสริมความมั่นคงแข็งแรง และเสาเข็มไอไมโครไพล์ ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับงานตอกรับพื้นถนน ที่ต้องการรับน้ำหนักหนักปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และการตอกเสาเข็มไอไมโครไพล์ของทางภูมิสยาม มีวิศวกรกำกับดูแลงาน ตลอดจนทีมช่างตอกเสาเข็มที่มีประสบการณ์ มีการทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test คู่กับข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เสาเข็มของภูมิสยามได้รับ มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 เรื่องฐานรากไว้ใจ เสาเข็มไอไมโครไพล์ ภูมิสยาม เรายินดีให้คำปรึกษา และพร้อมบริการทั่วประเทศ Miss Spunpile  … Read More

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST) คืออะไร??

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST) คืออะไร?? การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น โดยให้แต่ละชั้นมีปริมาตรเท่ากัน และต้องตำด้วยเหล็กตำทีละชั้นแล้วจึงค่อยๆ ยกโคนขึ้นอย่างช้าๆ คอนกรีตจะยุบตัวลงด้วยน้ำหนักของตัวเอง ความสูงที่ยุบตัวลงของคอนกรีตที่วัดได้ถือว่าเป็นค่ายุบตัวขอบคอนกรีต (ควรใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดไม่เกิน 2:30 นาที) ค่ายุบตัวที่เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทย คอนกรีตสำหรับงานพื้นถนนสนามบิน ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 5.0 เซนติเมตร ± 2.5 คอนกรีตสำหรับงานทั่วไป ค่ายุบตัวที่เหมาะสม … Read More

เสริมฐานรากภายในอาคาร ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เพื่อฐานรากที่มั่นคง ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

เสริมฐานรากภายในอาคาร ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เพื่อฐานรากที่มั่นคง ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม อาคารที่โครงสร้างมีน้ำหนักสูง ควรมีฐานรากที่มั่นคงและการรับน้ำหนักปลอดภัย ภูมิสยาม เราขอแนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการรับน้ำหนัก เพราะถูกออกแบบมาให้สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่วิศวกรออกแบบ ถึง15-50 ตัน/ต้น (ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่) โดยเสาเข็มมีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ทำให้เสาเข็มมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งกว่าเสาเข็มคอนกรีตที่หล่อด้วยวิธีธรรมดา และเสาเข็มสามารถเชื่อมต่อแต่ละท่อนได้โดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้า และใชั้ปั้นจั่นแบบพิเศษในการตอก ทำให้สามารถตอกต่อกันได้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง จากนั้นทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test เพื่อการรับน้ำหนักปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยภูมิสยาม เสาเข็มที่ตอบโจทย์เรื่องฐานราก และเพื่อฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ปรึกษาภูมิสยาม เราพร้อมบริการทั่วประเทศ Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม … Read More

ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล และการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล และการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ ในโครงการก่อสร้าง ขั้นตอนในการทำ BORING LOG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ 2) เพื่อให้การออกแบบเป็นไปด้วยความ ประหยัด และ ถูกต้อง ทั้งงานหลักของโครงการ งานก่อสร้างชั่วคราว งานปรับปรุงคุณภาพดิน และการควบคุมน้ำใต้ดิน 3) เพื่อการวางแผนการก่อสร้างที่ดีที่สุด ทั้งการเลือกวิธีก่อสร้าง การคาดคะเนและการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในงานก่อสร้าง 4) เพื่อการออกแบบที่ดีขึ้นหากมีปัญหาเกิดการวิบัติของ ดิน หรือ โครงสร้างฐานราก หรือ โครงสร้างเสาเข็ม ขึ้น 5) เพื่อทราบแหล่งของ ดิน ที่จะสามารถนำมาใช้ในโครงการก่อสร้าง เพราะการก่อสร้างนั้นจะสามารถที่จะนำดินภายในโครงการก่อสร้างมาใช้ในงานก่อสร้างเพื่อให้เกิดความประหยัดได้ แต่ พอไม่ทำการเจาะสำรวจดิน ก็เลยทำให้เราไม่อาจที่จะทราบได้ว่าลักษณะของดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ … Read More

สร้างใหม่ ฐานรากจะมั่นคงหรือไม่ขึ้นอยู่กับเสาเข็ม และเพื่อฐานรากที่มั่นคง เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micropile) ภูมิสยาม

สร้างใหม่ ฐานรากจะมั่นคงหรือไม่ขึ้นอยู่กับเสาเข็ม และเพื่อฐานรากที่มั่นคง เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micropile) ภูมิสยาม สำหรับงานสร้างใหม่ เสาเข็มเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นตัวรับน้ำหนักฐานรากและโครงสร้างทั้งหมดลงสู่ชั้นดิน และการตอกเสาเข็มจะต้องตอกให้ลึกถึงชั้นดินดาน หรือให้ได้ความลึกตาม BLOW COUNT ที่กำหนด เพื่อการรับน้ำหนักปลอดภัย และถูกต้องตามหลักวิศวกรรม โดยการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของทางภูมิสยาม มีวิศวกรกำกับดูแลงานหน้างาน และทีมช่างตอกที่มีประสบการณ์ เพื่อให้การตอกเสาเข็มเป็นไปอย่างถูกต้องได้มาตรฐาน และเสาเข็มสปันไมโครไพล์ นอกจากจะติดตั้งสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ ยังสามารถรับน้ำหนักได้ทันทีเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ ทำให้ประหยัดเวลา และได้ฐานรากที่มีคุณภาพสูง สร้างใหม่ทั้งที หมดปัญหาเรื่องฐานราก หากเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เสาเข็มคุณภาพ มาตรฐาน มอก. Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม … Read More

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม -ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ แกน y โดยจะทำการทดสอบกับตัวเสาเข็มสปันไมโครไพล์ -ทดสอบกับตัวปั้นจั่นเพื่อให้แน่ใจว่าได้แนวดิ่งที่ถูกต้องตามที่ต้องการแล้ว และหลังจากนั้นจึงลงมือตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดแล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง -หลังจากที่นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้ว ใช้ cap pile เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2 เคลื่อนออกจากตำแหน่ง แล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็มให้ติดกันโดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน … Read More

1 2 3 4 5 6 10